การวิเคราะห์ Forex ทางเทคนิค คืออะไร?
การวิเคราะห์ทางเทคนิค หมายถึง กระบวนการในการวิเคราะห์รูปแบบหรือแพทเทิร์นราคาของสินทรัพย์ (หรือคู่เงิน) หนึ่งๆ โดยการวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ในขั้นแรกเพื่อระบุแนวโน้ม (Trend) หลังจากนั้นจึงค่อยใช้เพื่อระบุแนวรับและแนวต้านในกราฟราคา หรือในกรอบเวลา (Timeframe) ต่างๆ สอน เทรด forex
การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักเทรด ได้แก่ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้:รูปแบบกราฟ (Chart pattern) – เทรดเดอร์นักวิเคราะห์จะนิยมใช้เครื่องมือช่วยวาด เช่น ระดับฟีโบนัชชี (Fibonacci level), เส้นแนวนอน (Horizontal line) และเส้นแนวโน้ม (Trend line) เพื่อระบุรูปแบบโดยทั่วไปของกราฟราคาต่างๆ (เช่น รูปแบบแสดงความต่อเนื่อง หรือ Consolidation pattern, รูปแบบการฟอร์มตัวสามเหลี่ยมสมมาตร หรือ Symmetrical triangle formation และรูปแบบอื่นๆ) ซึ่งรูปแบบเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจความ ‘แข็งแกร่ง’ หรือความ ‘อ่อนแอ’ ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดได้
รูปแบบของแท่งเทียน (Candle pattern) – รูปแบบนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถดูราคาเปิด (Open), ราคาปิด (Close), ราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ของแต่ละช่วงเวลาได้ตามกรอบเวลาที่ต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์มากๆ สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมนักลงทุนภายในระยะเวลาสั้นๆ
อินดิเคเตอร์ (Indicator) – นักวิเคราะห์ forex จะใช้อินดิเคเตอร์ในการวัดพฤติกรรมราคา เพื่อดูตำแหน่งความเคลื่อนไหวของตลาด อินดิเคเตอร์ที่ว่านั้นรวมไปถึง ‘สัญญาณ (Signal)’ ซึ่งจะแจ้งเตือนให้เทรดเดอร์ได้รับรู้เมื่อตลาดเกิดสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) และยังสามารถใช้ระบุการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมที่เกิดขึ้นในตลาดได้อีกด้วย (ในกรณีที่ราคาพุ่งหรือร่วง หรือจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน เป็นต้น)
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ อินดิเคเตอร์ Forex
อย่างไรก็ตาม ตลาดจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ กัน 3 แบบ ต่อไปนี้: ขึ้น, ลง และ Sideway นั่นเอง และโดยทั่วไป ราคาจะเคลื่อนที่แบบคดเคี้ยวไปมา ดังนั้น พฤติกรรมราคาจึงแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
Range – คือ ราคาที่เคลื่อนที่ซิกแซ็กอยู่ในกรอบแคบๆ (sideway)
Trend – คือ จังหวะที่ราคาเคลื่อนที่ซิกแซ็กไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง (จึงเป็นที่มาของคำว่า เทรนด์ขาขึ้น และ เทรนด์ขาลง นั่นเอง)
การวิเคราะห์ Forex ทางเทคนิคขั้นพื้นฐาน
มีวิธีมากมายที่เทรดเดอร์ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในการเทรด แต่วิธีการเหล่านั้นล้วนใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อประกอบการวิเคราะห์ (เช่น รูปแบบกราฟในอดีต) เพื่อระบุโอกาสที่กราฟจะเคลื่อนไหวมาบรรจบเช่นเดิมอีกครั้ง
ด้วยเหตุนี้เอง นักเทรดจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น เพื่อวิเคราะห์ศึกษาสภาวะของตลาดในปัจจุบัน รวมไปถึงการหาจุด ‘เข้า’ และ ‘ออก’ ที่เหมาะสมในการเทรดอีกด้วย
ในขณะที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นมุ่งเน้นพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากข่าว หรือข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร แต่การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะเน้นติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นในตลาด
พฤติกรรมราคา
ข้อมูลดังกล่าวใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีดาว (Dow theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า ‘ราคาเป็นอินดิเคเตอร์ที่แม่นยำ และสะท้อนถึงข้อมูลสำคัญทั้งหมด) ดังนั้น อะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ (Supply) และ อุปทาน (Demand) ก็จะปรากฎบนกราฟราคาเหล่านั้น
ในขณะเดียวกัน การศึกษาข้อมูลมากล้นจนเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อความเคลื่อนไหวของราคา หรือข้อมูลที่วัดค่าไม่ได้ เพราะนั่นถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และไม่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์นั่นเองครับ
เทรดเดอร์นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคจะให้ความสำคัญกับ ‘แนวโนม (Trend)’ ที่เกิดขึ้นในตลาด โดยตลาดสามารถปรับตัวไปได้ทั้งในทิศทาง ‘ขาขึ้น (Uptrend)’ หรือที่เรียกว่า ‘ตลาดกระทิง (Bullish market)’ ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ราคาปรับตัวขึ้นสูงกว่า High เดิม และราคาปรับตัวลงต่ำกว่า Low เดิม (ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่บริเวณตำแหน่งทั้ง 2) ในขณะเดียวกัน ทิศทาง ‘ขาลง (Downtrend)’ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ตลาดหมี (Bearish market)’ ซึ่งเป็นจังหวะที่ช่องว่างระหว่างตำแหน่ง high และ low มีขนาดแคบกว่า และระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งดังกล่าวห่างกันไม่มาก เมื่อเทียบกับตลาดกระทิง
นอกจากนั้น ยังมี ‘เทรนด์แนวนอน (Horizontal trend)’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ตลาดที่เคลื่อนไหวในกรอบ (Ranging market)’ ซึ่งเป็นจังหวะที่เหล่านักเทรดทั้งฝั่ง bull และ bear จะไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดไม่ได้เอื้อให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลย ซึ่งเป็นนัยว่าทั้ง 2 ฝั่งนั้นกำลังถือไพ่เสมอกันในตลาด
เมื่อตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ นั่นหมายความว่า ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ ไม่มีฝั่งไหนโดดเด่น จึงทำให้ตลาดไม่มีเทรนด์เกิดขึ้น เพราะมันวิ่งไปวิ่งมาอย่างรวดเร็วแบบไร้ทิศทางนั่นเอง
มีการวิเคราะห์ว่า ตลาดมักเคลื่อนไหวในกรอบแคบเป็นเวลาราวๆ 60% ของช่วงเวลาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า นักเทรด forex จะต้องมีสมาธิและโฟกัสกับการเทรดให้ดีๆ เพื่อที่จะระบุและจับจังหวะเทรนด์ได้ แล้วทำกำไรจากเทรนด์เหล่านั้น